งานพิเศษ 1

ผลการเลือกตั้งทั่วไปอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลทั่วไป
นับคะแนนไปแล้ว 100 % 100 %
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ 35,203,107 คน 75.03 %
ไม่ประสงค์ลงคะแนน (แบ่งแขต) 1,419,088 บัตร 4.03 %
ไม่ประสงค์ลงคะแนน (บัญชีรายชื่อ) 958,052 บัตร 2.72 %
บัตรเสีย (แบ่งแขต) 2,039,694 บัตร 5.79 %
บัตรเสีย (บัญชีรายชื่อ) 1,726,051 บัตร 4.9 %
คะแนนแบบบัญชีรายชื่อ
พรรค คะแนน ร้อยละ ที่นั่ง
พรรคเพื่อไทย (พท.) 15,743,410 48.0% 61
พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) 11,433,501 35.1% 44
พรรคภูมิใจไทย (ภท.) 1,281,522 4.03% 5
พรรครักประเทศไทย (ชูวิทย์) 998,527 3.0% 4
พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน (ชพน.) 494,894 1.6% 2
พรรคการเมืองที่ได้จำนวนที่นั่งสูงสุด 5 อันดับแรก
อันดับ พรรคการเมือง จำนวนที่นั่งแบบแบ่งแขต จำนวนที่นั่งแบบบัญชีรายชื่อ จำนวนที่นั่งรวม
1 พรรคเพื่อไทย (พท.) 204 61 265
2 พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) 115 44 159
3 พรรคภูมิใจไทย (ภท.) 29 5 34
4 พรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) 15 4 19
5 พรรคหลังชล 6 1 7
5 พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน (ชพน.) 5 2 7


ผลการเลือกตั้ง 2554
ในที่สุดแล้ว การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา พรรคเพื่อไทยที่นำโดยนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สามารถกวาด ส.ส.ทิ้งห่างพรรคประชาธิปัตย์ที่นำโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะไปกว่า 100 เก้าอี้ พร้อมกับคว้าคะแนนเสียงเกินครึ่งหนึ่งและสามารถเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ

สำหรับผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ มีดังนี้

1.พรรคเพื่อไทย ได้ ส.ส.แบ่งเขต 201 คน บัญชีรายชื่อ 61 คน รวม 262 คน
2.พรรคประชาธิปัตย์ ได้ ส.ส.แบ่งเขต 116 คน บัญชีรายชื่อ 44 คน รวม 160 คน
3.พรรคภูมิใจไทย ได้ ส.ส.แบ่งเขต 29 คน บัญชีรายชื่อ 5 คน รวม 34 คน
4.พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ ส.ส.แบ่งเขต 15 คน บัญชีรายชื่อ 4 คน รวม 19 คน
5.พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ได้ ส.ส.แบ่งเขต 6 คน บัญชีรายชื่อ 1 คน รวม 7 คน
6.พรรคพลังชล ได้ ส.ส.แบ่งเขต 6 คน บัญชีรายชื่อ 1 คน รวม 7 คน
7.พรรครักประเทศไทย ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 4 คน
8.พรรคมาตุภูมิ ได้ ส.ส.แบ่งเขต 1 คน บัญชีรายชื่อ 1 คน รวม 2 คน
9.พรรครักษ์สันติ ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน
10. พรรคประชาธิปไตยใหม่ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน
11.พรรคมหาชน ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน


จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนมากที่สุด ในการเลือกตั้ง 2554
จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนมากที่สุด ในการเลือกตั้ง 2554
อันดับ 1 จังหวัดลำพูน มีผู้มาใช้สิทธิ ร้อยละ 88.61
อันดับ 2 จังหวัดเชียงใหม่ มีผู้มาใช้สิทธิ ร้อยละ 83.13
อันดับ 3 จังหวัดตรัง มีผู้มาใช้สิทธิ ร้อยละ 82.65



รายชื่อ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อทั้งหมด 125 คน มีดังนี้
พรรคเพื่อไทย ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อทั้งหมด 61 คน ได้แก่
1.น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
2.ยงยุทธ วิชัยดิษฐ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย
3.ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง
4.เสนาะ เทียนทอง
5.พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก
6.มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์
7.ปลอดประสพ สุรัสวดี
8.จตุพร พรหมพันธุ์
9.ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
10.สุชาติ ธาดาธำรงเวช
11.พล.ต.ท.ชัชจ์ กุลดิลก
12.จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
13.บัณฑูร สุภัควณิช
14.พ.อ.ดร.อภิวันท์ วิริยะชัย
15.สันติ พร้อมพัฒน์
16.พล.ต.อ.วิรุฬ พื้นแสน
17.พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์
18.วิรุฬ เตชะไพบูลย์
19.เหวง โตจิราการ
20.สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล
21.นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล
22.วัฒนา เมืองสุข
23. พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา
24.นิติภูมิ นวรัตน์
25.นางสาวภูวนิดา คุนผลิน
26.สุนัย จุลพงศธร
27.นางระพิพรรณ พงศ์เรืองรอง
28.คณวัฒน์ วศินสังวร
29.อัสนี เชิดชัย
30.นางสาวสุณีย์ เหลืองวิจิตร
31.พันตรี อาณันย์ วัชโรทัย
32.วิรัช รัตนเศรษฐ
33.พรศักดิ์ เจริญประเสริฐ
34.นภินทร ศรีสรรพางค์
35.ถาวร ตรีรัตน์ณรงค์
36.นางวราภรณ์ ตั้งภาภรณ์
37.นางสาวสุนทรี ชัยวิรัตนะ
38.นางสาวตวงรัตน์ โล่ห์สุนทร
39.สมพล เกยุราพันธุ์
40.นพงศกร อรรณนพพร
41.นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์
42.นางสาวขัตติยา สวัสดิผล
43.ธนเทพ ทิมสุวรรณ
44.นางสาวกฤษณา สีหลักษณ์
45.เกียรติชัย ติรณศักดิ์กุล
46.วิภูแถลง พัฒนภูมิไท
47.นางเยาวนิตย์ เพียงเกษ
48.พายัพ ปั้นเกตุ
49.นางรังสิมา เจริญศิริ
50.รองศาสตราจารย์เชิดชัย ตันติศิรินทร์
51.กานต์ กัลป์ตินันท์
52.ธนิก มาสีพิทักษ์
53.พิชิต ชื่นบาน
54.ก่อแก้ว พิกุลทอง
55.นิยม วรปัญญา
56.นางสาวจารุพรรณ กุลดิลก
57.อรรถกร ศิริลัทธยากร
58.เวียง วรเชษฐ์
59.อดิศักดิ์ โภคกุลกานนท์
60.วิเชียร ขาวขำ
61.ประวัฒน์ อุตโมท
พรรคประชาธิปัตย์ ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 44 คน ได้แก่
1.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
2.ชวน หลีกภัย
3.บัญญัติ บรรทัดฐาน
4.เทอดพงษ์ ไชยนันทน์
5.จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
6.กรณ์ จาติกวนิช
7. คุณหญิงกัลยา โสภณพาณิช
8.อภิรักษ์ โกษะโยธิน
9.นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี
10.นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์
11.นายไพฑูรย์ แก้วทอง
12.นายอิสสระ สมชัย
13.นายเจริญ คันธวงศ์
14.นายอลงกรณ์ พลบุตร
15.นายอาคม เอ่งฉ้วน
16.นายนิพนธ์ วิสิษฐยุทธศาสตร์
17.สุทัศน์ เงินหมื่น
18.องอาจ คล้ามไพบูลย์
19.พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
20.วิฑูรย์ นามบุตร
21.ถวิล ไพรสณฑ์
22. นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู
23.พ.อ.วินัย สมพงษ์
24.สุวโรช พะลัง (เสียชีวิต)
25.ดร.ผุสดี ตามไท
26.ปัญญวัฒน์ บุญมี
27.สามารถ ราชพลสิทธิ์
28.นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์
29.ภุชงค์ รุ่งโรจน์
30.นิพนธ์ บุญญามณี
31.นางอานิก อัมระนันทน์
32.โกวิทย์ ธารณา
33.อัศวิน วิภูศิริ
34.ธรรมวิชญ์ โพธิพิพิธ
35.เกียรติ สิทธิอมร
36. บุญยอด สุขถิ่นไทย
37.กนก วงษ์ตระหง่าน
38.พล.อ.พิชาญเมธ ม่วงมณี
39.สุกิจ ก้องธรนินทร์
40.ประกอบ จิรกิติ
41.พีรยศ ราฮิมมูลา
42.กษิต ภิรมย์
43.วีระชัย วีระเมธีกุล
44. นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท
45.วัชระ เพชรทอง

หมายเหตุ: เนื่องจากนายสุวโรช พะลัง ผู้สมัคร ส.ส.ลำดับที่ 24 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน จึงเลื่อนลำดับที่ 45 ขึ้นมาแทน

พรรคภูมิใจไทย ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 5 คน ได้แก่
1.ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
2.ชัย ชิดชอบ
3.เรืองศักดิ์ งามสมภาค
4.นางนาที รัชกิจประการ
5.ศุภชัย ใจสมุทร

พรรครักประเทศไทย ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 4 คน ได้แก่
1.ชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์
2.นายชัยวัฒน์ ไกฤกษ์
3.โปรดปราน โต๊ะราหนี
4.พงษ์ศักดิ์ เรือนเงิน


พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 4 คน ได้แก่
1.ชุมพล ศิลปอาชา
2.พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์
3.นิติวัฒน์ จันทร์สว่าง
4.ยุทธพล อังกินันทน์

พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 4 คน ได้แก่
1.ร.ต.ประพาส ลิมปะพันธุ์
2.ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง

พรรคมาตุภูมิ ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 1 คน ได้แก่
1.พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน

พรรคพลังชล ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 1 คน ได้แก่
1.นายสันตศักย์ จรูญงามพิเชษฐ์

พรรครักษ์สันติ ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 1 คน ได้แก่
1.ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์

พรรคมหาชน ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 1 คน ได้แก่
1.นายอภิรัต ศิรินาวิน

พรรคประชาธิปไตยใหม่ ได้ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 1 คน ได้แก่
1.นางพัชรินทร์ มั่นปาน






ส.ส.บัญชีรายชื่อเป็นรายภาค
- ภาคเหนือ เลือกพรรคเพื่อไทย 49.69% พรรคประชาธิปัตย์ 29.67% พรรคชาติไทยพัฒนา 3.60% พรรคภูมิใจไทย 2.00% พรรครักประเทศไทย 1.86% พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 0.93% พรรคมหาชน 0.57% พรรครักษ์สันติ 0.50% พรรคอื่น ๆ อีก 11.18%
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เลือกพรรคเพื่อไทย 63.49% พรรคประชาธิปัตย์ 13.45% พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 3.32% พรรคชาติไทยพัฒนา 2.08% พรรครักประเทศไทย 1.34% พรรครักษ์สันติ 0.42% พรรคกิจสังคม 0.34% พรรคอื่น ๆ อีก 15.56%
- ภาคกลาง เลือกพรรคเพื่อไทย 38.8% พรรคประชาธิปัตย์ 35.14% พรรคชาติไทยพัฒนา 4.12% พรรครักประเทศไทย 4.1% พรรคภูมิใจไทย 3.36% พรรคพลังชล 1.67% พรรครักษ์สันติ 0.99% พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 0.55% พรรคมาตุภูมิ 0.50% พรรคอื่น ๆ อีก 10.77%
- ภาคใต้ เลือกพรรคประชาธิปัตย์ 70.42% พรรคเพื่อไทย 7.63% พรรคมาตุภูมิ 3.3% พรรคภูมิใจไทย 2.94% พรรครักประเทศไทย 2.07% พรรคชาติไทยพัฒนา 1.03% พรรคแทนคุณแผ่นดิน 0.91% พรรคมหาชน 0.72% พรรคประชาธรรม 0.57% พรรคประชาธิปไตยใหม่ 0.50% พรรคอื่น ๆ อีก 9.91%
- กรุงเทพมหานคร เลือกพรรคประชาธิปัตย์ 41.62% พรรคเพื่อไทย 39.69% พรรครักประเทศไทย 6.89% พรรครักษ์สันติ 2.66% พรรคมาตุภูมิ 0.39% พรรคชาติไทยพัฒนา 0.34% พรรคกิจสังคม 0.27% พรรคภูมิใจไทย 0.26% พรรคอื่น ๆ อีก 7.88%

ผลการเลือกตั้ง ส.ส.แบ่งเขต จำนวนทั้งหมด 375 คน
- พรรคเพื่อไทย ได้ ส.ส.แบ่งเขต ทั้งหมด 201 คน แบ่งเป็นภาคเหนือ 49 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 101 คน ภาคกลาง 41 คน กรุงเทพมหานคร 10 คน ภาคใต้ไม่ได้ ส.ส.
- พรรคประชาธิปัตย์ ได้ ส.ส.แบ่งเขต ทั้งหมด 116 คน แบ่งเป็นภาคเหนือ 13 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 คน ภาคกลาง 25 คน กรุงเทพมหานคร 23 คน และภาคใต้ 50 คน
- พรรคภูมิใจไทย ได้ ส.ส.แบ่งเขต ทั้งหมด 29 คน แบ่งเป็นภาคเหนือ 2 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 13 คน ภาคกลาง 13 คน และภาคใต้ 1 คน ส่วนกรุงเทพมหานครไม่มี ส.ส.
- พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ ส.ส.แบ่งเขต ทั้งหมด 15 คน แบ่งเป็นภาคเหนือ 2 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 คน ภาคกลาง 11 คน และภาคใต้ 1 คน ส่วนกรุงเทพมหานครไม่มี ส.ส.
- พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ได้ ส.ส.แบ่งเขต ทั้งหมด 7 คน แบ่งเป็นภาคเหนือ 1 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 6 คน ส่วนภาคกลาง ภาคใต้ และกรุงเทพมหานครไม่มี ส.ส.
- พรรคพลังชล ได้ ส.ส.แบ่งเขต ทั้งหมด 6 คน มาจากจังหวัดชลบุรีทั้งหมด 6 ที่นั่ง
- พรรคมาตุภูมิ ได้ ส.ส.แบ่งเขต 1 คน จากเขต 3 จังหวัดปัตตานี
รายชื่อว่าที่ ส.ส.แบ่งเขต
กรุงเทพมหานคร
เขต 1 นางเจิมมาศ จึงเลิศศิริ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นางสาวอรอนงค์ กาญจนชูศักดิ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 หม่อมหลวงอภิมงคล โสณกุล พรรคประชาธิปัตย์
เขต 4 นายอนุชา บูรพชัยศรี พรรคประชาธิปัตย์
เขต 5 นางสาวลีลาวดี วัชโรบล พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นายธนา ชีรวินิจ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 7 นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 8 นายสรรเสริญ สมะลาภา พรรคประชาธิปัตย์
เขต 9 นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี พรรคประชาธิปัตย์
เขต 10 นายชื่นชอบ คงอุดม พรรคประชาธิปัตย์
เขต 11 นายสุรชาติ เทียนทอง พรรคเพื่อไทย
เขต 12 นายการุณ โหสกุล พรรคเพื่อไทย
เขต 13 น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ พรรคเพื่อไทย
เขต 14 นายอนุสรณ์ ปั้นทอง พรรคเพื่อไทย
เขต 15 นายณัฎฐ์ บรรทัดฐาน พรรคประชาธิปัตย์
เขต 16 นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ พรรคเพื่อไทย
เขต 17 นายวิชาญ มีนชัยนันท์ พรรคเพื่อไทย
เขต 18 นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ พรรคเพื่อไทย
เขต 19 นายไพโรจน์ อิสระเสรีพงษ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 20 นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ พรรคเพื่อไทย
เขต 21 นางนาถยา เบ็ญจศิริวรรณ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 22 นายสามารถ มะลูลีม พรรคประชาธิปัตย์
เขต 23 นายสุทธิ ปัญญาสกุลวงศ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 24 นายสุรันต์ จันทร์พิทักษ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 25 นางนันทพร วีรกุลสุนทร พรรคประชาธิปัตย์
เขต 26 นายณัฎฐพล ทีปสุวรรณ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 27 นายสากล ม่วงศิริ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 28 พันตำรวจเอกสามารถ ม่วงศิริ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 29 นายเอกนัฎ พร้อมพันธุ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 30 นางอรอนงค์ คล้ายนก พรรคประชาธิปัตย์
เขต 31 นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 32 นายชนินทร์ รุ่งแสง พรรคประชาธิปัตย์
เขต 33 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก พรรคประชาธิปัตย์

ภาคเหนือ
กำแพงเพชร
เขต 1 นายไผ่ ลิกค์ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายปรีชา มุสิกุล พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายอนันต์ ผลอำนวย พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายปริญญา ฤกษ์หร่าย พรรคเพื่อไทย

เชียงราย พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ทั้งจังหวัด
เขต 1 นายสามารถ แก้วมีชัย พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายสุรสิทธิ์ เจียมวิจักษณ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 3 น.ส.วิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายรังสรรค์ วันไชยธนวงศ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นายอิทธิเดช แก้วหลวง พรรคเพื่อไทย
เขต 7 น.ส.ละออง ติยะไพรัช พรรคเพื่อไทย

เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทยได้ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 น.ส.ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายกฤษดาภรณ์ เสียมภักดี พรรคเพื่อไทย
เขต 3 น.ส.ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายวิทยา ทรงคำ พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นายประสิทธิ์ วุฒินันชัย พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ พรรคเพื่อไทย
เขต 7 นายบุญทรง เตริยาภิรมณ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 8 นายนพคุณ รัฐไผท พรรคเพื่อไทย
เขต 9 นายสุรพล เกียรติไชยากร พรรคเพื่อไทย
เขต 10 นายศรีเรศ โกฏิคำลือ พรรคเพื่อไทย
ตาก พรรคประชาธิปัตย์ได้ยกจังหวัด
เขต 1 นายเธียรชัย สุวรรณเพ็ญ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายธนิตพล ไชยนันทน์ พรรคประชาธิปัตย์
นครสวรรค์
เขต 1 นายสงกรานต์ จิตสุทธิภากร พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมธรรมชัย พรรคภูมิใจไทย
เขต 3 ร.ต.ต.จำเริญ วรทอง พรรคภูมิใจไทย
เขต 4 พ.ต.ท.นุกูล แสงศิริ พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นายทายาท เกียรติชูศักดิ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นายประสาท ตันประเสริฐ พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน

น่าน พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1นางสิรินทร รามสูต พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายชลน่าน ศรีแก้ว พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายณัฐพงษ์ สุปริยศิลป์ พรรคเพื่อไทย

พะเยา พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 น.ส.อรุณี ชำนาญยา พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายไพโรจน์ ตันบรรจง พรรคเพื่อไทย

แพร่ พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นางปานหทัย เสรีรักษ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายนิยม วิวรรธนดิฐกุล พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล พรรคเพื่อไทย

พิจิตร
เขต1 นายวินัย ภัทรประสิทธิ์ พรรคชาติไทยพัฒนา
เขต 2 นายนราพัฒน์ แก้วทอง พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ พรรคชาติไทยพัฒนา

พิษณุโลก
เขต 1 นายวรงค์ เดชกิจวิกรม พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ พรรคชาติไทยพัฒนา
เขต 3 นายจุติ ไกรฤกษ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 4 นายนิยม ช่างพินิจ พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นายนคร มาฉิม พรรคประชาธิปัตย์

เพชรบูรณ์
เขต 1 นายสุทัศน์ จันทร์แสงศรี พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายจักรัตน์ พั้วช่วย พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายยุพราช บัวอินทร์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 4 นางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นายสุรศักดิ์ อนรรฆพันธ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นายเอี่ยม ทองใจสด พรรคเพื่อไทย

แม่ฮ่องสอน
เขต 1 นายสมบัติ ยะสินธุ์ พรรคประชาธิปัตย์

ลำปาง พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1นายสมโภช สายเทพ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายวาสิต พยัคฆบุตร พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายจรัสฤทธิ์ จันทรสุรินทร์ พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายอิทธิรัตน์ จันทรสุรินทร์ พรรคเพื่อไทย

ลำพูน พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายสงวน พงษ์มณี พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายสถาพร มณีรัตน์ พรรคเพื่อไทย





สุโขทัย
เขต 1 นายวิรัตน์ วิริยะพงษ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายสัมพันธ์ ตั้งเบญจผล พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายจักรวาล ชัยวิรัตน์นุกุล พรรคภูมิใจไทย
เขต 4 นายมนู พุกประเสริฐ พรรคภูมิใจไทย

อุตรดิตถ์ พรรคเพื่อไทยได้ยกจังหวัด
เขต 1 นายกนก ลิ้มตระกูล พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย พรรคเพื่อไทย


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กาฬสินธุ์ พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นางบุญรื่น ศรีธเรศ
เขต 2 นางวีระวัฒน์ โอสถานุเคราะห์
เขต 3 นายคมเดช ไชยศิวามงคล
เขต 4 นายพีระเพชร ศิริกุล
เขต 5 นายนิพนธ์ ศรีธเรศ
เขต 6 นายประเสริฐ บุญเรือง

ขอนแก่น พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายจักริน พัฒน์ดำรงจิตร พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นาย ภูมิ สาระผล พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายจตุพร เจริญเชื้อ พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นางมุกดา พงษ์สมบัติ พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นายสุชาย ศรีสุรพล พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ พรรคเพื่อไทย
เขต 7 นายนวัธ เตาะเจริญสุข พรรคเพื่อไทย
เขต 8 นางดวงแข อรรณพพร พรรคเพื่อไทย
เขต 9 ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิชย์ พรรคเพื่อไทย
เขต 10 นายเรืองเดช สุพรรณฝ่าย พรรคเพื่อไทย
ชัยภูมิ
เขต 1นายโอชิษฐ์ เกียรติก้องชูชัย พรรคภูมิใจไทย
เขต 2นายมานะ โลหะวณิชย์ พรรคเพื่อไทย
เขต 3น.ส.ปาริชาติ ชาลีเครือ พรรคเพื่อไทย
เขต 4นายอนันต์ ลิมปคุปตถาวร พรรคเพื่อไทย
เขต 5นายเจริญ จรรย์โกมล พรรคเพื่อไทย
เขต 6นางพรเพ็ญ บุญศิริวัฒนกุล พรรคเพื่อไทย
เขต 7นายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์ พรรคเพื่อไทย

นครพนม พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายยุทธจักร เรืองวรบูรณ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นางมนพร เจริญศรี พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายไพจิต ศรีวรขาน พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายชูกัน กุลวงษา พรรคเพื่อไทย

นครราชสีมา
เขต 1 นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
เขต 2 นายวัชรพล โตมรศักดิ์ พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
เขต 3 นายประเสริฐ บุญชัยสุข พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
เขต 4 นางทัศนียา รัตนเศรษฐ พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นายโกศล ปัทมะ พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นายสุชาติ ภิญโญ พรรคเพื่อไทย
เขต 7 นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ พรรคเพื่อไทย
เขต 8 นายจรูญพงศ์ พันธุ์ศรีนคร พรรคเพื่อไทย
เขต 9 นายพลพรี สุวรรณฉวี พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
เขต 10 นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ พรรคภูมิใจไทย
เขต 11 นายสัมภาษณ์ อัตถาวงศ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 12 นายประนอม โพธิ์คำ พรรคภูมิใจไทย
เขต 13 นายศิรสิทธิ์ เลิศด้วยลาภ พรรคเพื่อไทย
เขต 14 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง พรรคเพื่อไทย
เขต 15 นายวิสิทธิ์ พิทยาภรณ์ พรรคภูมิใจไทย

บึงกาฬ พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายเชิดพงศ์ ราชป้องขันธ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายไตรรงค์ ติธรรม พรรคเพื่อไทย

บุรีรัมย์
เขต 1นายสนอง เทพอักษรณรงค์ พรรคภูมิใจไทย
เขต 2นายรังสิกร ทิมาตฤกะ พรรคภูมิใจไทย
เขต 3นายโสภณ ซารัมย์ พรรคภูมิใจไทย
เขต 4นางอารีญาภรณ์ ซารัมย์ พรรคภูมิใจไทย
เขต 5นายมนต์ไชย ชาติวัฒนศิริ พรรคภูมิใจไทย
เขต 6นายพรชัย ศรีสุริยันโยธิน พรรคเพื่อไทย
เขต 7นายหนูแดง วรรณกางซ้าย พรรคเพื่อไทย
เขต 8นายรุ่งโรจน์ ทองศรี พรรคภูมิใจไทย
เขต 9นายจักรกฤษณ์ ทองศรี พรรคภูมิใจไทย

มหาสารคาม พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1นายสุรจิตร ยนต์ตระกูล พรรคเพื่อไทย
เขต 2นายไชยวัฒน์ ติณรัตน์ พรรคเพื่อไทย
เขต 3นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร พรรคเพื่อไทย
เขต 4นายจิรวัฒน์ ศิริพานิชย์ พรรคเพื่อไทย
เขต 5นางกุสุมาลวตี ศิริโกมุท พรรคเพื่อไทย

มุกดาหาร พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายอนุรักษ์ ตั้งปณิธานนท์ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายบุญฐิน ประทุมลี พรรคเพื่อไทย

ยโสธร พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายปิยวัฒน พันธ์สายเชื้อ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายบุญแก้ว สมวงศ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายพีรพันธ์ พาลุสุข พรรคเพื่อไทย


ร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายวราวงษ์ พันธุ์ศิลา พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายฉลาด ขามช่วง พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายนิรมิต สุจารี พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายนิรันดร์ นาเมืองรักษ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นางเอมอร สินธุไพร พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นายกิตติ สมทรัพย์ พรรคเพื่อไทย
เขต 7 นายศักดา คงเพชร พรรคเพื่อไทย
เขต 8 นายเศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์ พรรคเพื่อไทย

เลย พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นางนันทนา ทิมสวรรณ พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นางเปล่งมณี เร่งสมบูรณ์สุข พรรคเพื่อไทย
เขต 4 ส.อ.วันชัย บุษบา พรรคเพื่อไทย

ศรีษะเกษ
เขต 1 นายธเนศ เครือรัตน์ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายสุรชาติ ชาญประดิษฐ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นางอุดมลักษณ์ เพ็งนรพัฒน์ พรรคภูมิใจไทย
เขต 4 นายวิวัฒน์ชัย โหตระไวศยะ พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นายธีระ ไตรสรณกุล พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นายวีระพล จิตสัมฤทธิ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 7 นายมานพ จรัสดำรงนิตย์ พรรคเพื่อไทย
เขต 8 นายปวีณ แซ่จึง พรรคเพื่อไทย







สกลนคร พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายอภิชาต ตีรสวัสดิชัย พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายนิยม เวชกามา พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายนริศร ทองธิราช พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายพัฒนา สัพโส พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นางอนุรักษ์ บุญศล พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นายเสรี สาระนันท์ พรรคเพื่อไทย
เขต 7 นายเกษม อุประ พรรคเพื่อไทย

สุรินทร์
เขต 1 นายปกรณ์ มุ่งเจริญพร พรรคภูมิใจไทย
เขต 2 นางปิยะดา มุ่งเจริญพร พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นางคุณากร ปรีชาชนะชัย พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายตี๋ใหญ่ พูนศรีธนากูล พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นายครูมานิตย์ สังข์พุ่ม พรรคเพื่อไทย
เขต 6 จ.ส.ต.ประสิทธ์ ไชยศรีษะ พรรคเพื่อไทย
เขต 7 นายสมบัติ ศรีสุรินทร์ พรรคเพื่อไทย
เขต 8 นายชูศักดิ์ แอกทอง พรรคเพื่อไทย

หนองคาย พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายพงศ์พันธ์ สุนทรชัย พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายสมคิด บาลไธสง พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นางชมภู จันทาทอง พรรคเพื่อไทย

หนองบัวลำภู พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายไชยา พรหมา พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายวิชัย สามิตร พรรคเพื่อไทย




อุดรธานี พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายศราวุธ เพชรพนมพร พรรคเพื่อไทย
เขต 2 พ.ต.ท.สุรทิน พิมานเมฆินทร์ พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายอนันต์ ศรีพันธ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายขจิตร ชัยนิคม พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นายทองดี มนิสสาร พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นายเกียรติอุดม เมนะสวัสดิ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 7 นายจักรพรรดิ ไชยสาส์น พรรคเพื่อไทย
เขต 8 นายเกรียงศักดิ์ ฝ้ายสีงาม พรรคเพื่อไทย
เขต 9 นางเทียบจุฑา ขาวขำ พรรคเพื่อไทย

อุบลราชธานี
เขต 1 นายวรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นาย ศุภชัย ศรีหล้า พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายวุฒิพงษ์ นามบุตร พรรคประชาธิปัตย์
เขต 4 นายสุพล ฟองงาม พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นายสุทธิชัย จรูญเนตร พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นายพิสิษฐ์ สันตะพันธ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 7 นายชูวิทย์ กุ่ย พิทักษ์พรพัลลภ พรรคเพื่อไทย
เขต 8 น.ส.บุณย์ธิดา สมชัย พรรคประชาธิปัตย์
เขต 9 นายปัญญา จินตะเวช พรรคเพื่อไทย
เขต 10 นายสมคิด เชื้อคง พรรคเพื่อไทย
เขต 11 นายตุ่น จินตะเวช พรรคชาติไทยพัฒนา

อำนาจเจริญ
เขต 1 นางสมหญิง บัวบุตร พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายอภิวัฒน์ เงินหมื่น พรรคประชาธิปัตย์




ภาคกลาง
กาญจนบุรี
เขต 1 พลเอกสมชาย วิษณุวงศ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายฉัตรพันธ์ เดชกิจสุนทร พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายประชา โพธิพิพิธ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 5 นางศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 1 นายธวัชชัย อนามพงษ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายยุคล ชนะวัฒน์ปัญญา พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายพงศ์เวช เวชชาชีวะ พรรคประชาธิปัตย์

ฉะเชิงเทรา
เขต 1 นายบุญเลิศ ไพรินทร์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายสมชัย อัศวชัยโสภณ พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายรส มะลิผล พรรคเพื่อไทย
เขต 4 พลตำรวจโทพิทักษ์ จารุสมบัติ พรรคประชาธิปัตย์

ชลบุรี
เขต 1 นายสุชาติ ชมกลิ่น พรรคพลังชล
เขต 2 นายอุกฤษณ์ ตั๊นสวัสดิ์ พรรคพลังชล
เขต 3 นายรณเทพ อนุวัฒน์ พรรคพลังชล
เขต 4 นายสรวุฒิ เนื่องจำนงค์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 5 นายพันธุ์ศักดิ์ เกตุวัตถา พรรคพลังชล
เขต 6 นางสุกุมล คุณปลื้ม พรรคพลังชล
เขต 7 นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ พรรคพลังชล
เขต 8 พลเรือเอกสุรพล จันทน์แดง พรรคเพื่อไทย

ชัยนาท พรรคภูมิใจไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นางพรทิวา นาคาศัย พรรคภูมิใจไทย
เขต 2 นางนันทนา สงฆ์ประชา พรรคภูมิใจไทย


ตราด
เขต 1 นายธีระ สลักเพชร พรรคประชาธิปัตย์

นครนายก
เขต 1 นายวุฒิชัย กิตติธเนศวร พรรคภูมิใจไทย

นครปฐม
เขต 1 พันโทสินธพ แก้วพิจิตร พรรคชาติไทยพัฒนา
เขต 2 นายรัฐกร เจนกิจณรงค์ พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายก่อเกียรติ สิริยะเสถียร พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายอนุชา สะสมทรัพย์ พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ พรรคเพื่อไทย

นนทบุรี พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายนิทัศน์ ศรีนนท์ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายอุดมเดช รัตนเสถียร พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นางวไลพร อัจฉริยะประสิทธิ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายมนตรี ตั้งเจริญถาวร พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นายวันชัย เจริญนนทสิทธิ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นายฉลอง เรี่ยวแรง พรรคเพื่อไทย

ปทุมธานี พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายสุทิน นพขำ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายสุรพงษ์ อึ่งอัมพรวิไล พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายสมศักดิ์ ใจแคล้ว พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นางสาวพรพิมล ธรรมสาร พรรคเพื่อไทย
เขต 5 ว่าที่ร้อยตรีสุเมธ ฤทธาคนี พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นายชูชาติ หาญสวัสดิ์ พรรคเพื่อไทย




ประจวบคีรีขันธ์ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายมนตรี ปาน้อยนนท์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายประมวล พงศ์ถาวราเดช พรรคประชาธิปัตย์

ปราจีนบุรี
เขต 1 นายอำนาจ วิลาวัลย์ พรรคภูมิใจไทย
เขต 2 นายชยุต ภุมมะกาญจนะ พรรคชาติไทยพัฒนา
เขต 3 นางเพชรินทร์ เสียงเจริญ พรรคภูมิใจไทย

พระนครศรีอยุธยา
เขต 1 นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร พรรคชาติไทยพัฒนา
เขต 2 นายพ้อง ชีวานันท์ พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายวิทยา บุรณศิริ พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นายองอาจ วชิรพงศ์ พรรคเพื่อไทย

เพชรบุรี พรรคประชาธิปัตย์ได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายอรรถพร พลบุตร พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายกัมพล สุภาแพ่ง พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายอภิชาต สุภาแพ่ง พรรคประชาธิปัตย์

ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายสาธิต ปิตุเตชะ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายบัญญัติ เจตนจันทร์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายธารา ปิตุเตชะ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 4 นายวิชัย ล้ำสุทธิ พรรค ประชาธิปัตย์




ราชบุรี
เขต 1 นายมานิต นพอมรบดี พรรคภูมิใจไทย
เขต 2 นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา พรรคภูมิใจไทย
เขต 3 นางปารีณา ไกรคุปต์ พรรคชาติไทยพัฒนา
เขต 4 นางสาวชะวรลัทธิ์ ชินธรรมมิตร พรรคภูมิใจไทย
เขต 5 นายบุญดำรง ประเสริฐโสภา พรรคภูมิใจไทย

ลพบุรี
เขต 1 นายพิชัย เกียรติวินัยสกุล พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นางสาวมัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช พรรคภูมิใจไทย
เขต 3 นายอำนวย คลังผา พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายเกียรติ เหลืองขจรวิทย์ พรรคภูมิใจไทย

สมุทรปราการ
เขต 1 นางอรุณลักษณ์ กิจเลิศไพโรจน์ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นายประเสริฐ ชัยกิจเด่นนภาลัย พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นางอนุสรา ยังตรง พรรคเพื่อไทย
เขต 4 นายวรชัย เหมะ พรรคเพื่อไทย
เขต 5 นางสลิลทิพย์ สุขวัฒน์ พรรคเพื่อไทย
เขต 6 นางสาวเรวดี รัศมิทัศ พรรคภูมิใจไทย
เขต 7 นายประชา ประสพดี พรรคเพื่อไทย

สมุทรสงคราม
เขต 1 นางสาวรังสิมา รอดรัศมี พรรคประชาธิปัตย์

สมุทรสาคร พรรคประชาธิปัตย์ ได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายครรชิต ทับสุวรรณ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นาวาตรี สุธรรม ระหงษ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายนิติรัฐ สุนทรวร พรรคประชาธิปัตย์



สระแก้ว พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายฐานิสร์ เทียนทอง พรรคเพื่อไทย
เขต 2 นางสาวตรีนุช เทียนทอง พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายสรวงศ์ เทียนทอง พรรคเพื่อไทย

สระบุรี
เขต 1 นางสาวกัลยา รุ่งวิจิตรชัย พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายอรรถพล วงษ์ประยูร พรรคเพื่อไทย
เขต 3 นายวัชรพงศ์ คูวิจิตรสุวรรณ พรรคภูมิใจไทย
เขต 4 นายองอาจ วงษ์ประยูร พรรคเพื่อไทย

สิงห์บุรี
เขต 1 นายสุรสาล ผาสุขทวี พรรคเพื่อไทย

สุพรรณบุรี
เขต 1 นายสรชัด สุจิตต์ พรรคชาติไทยพัฒนา
เขต 2 นายชาญชัย ประเสริฐสุวรรณ พรรคชาติไทยพัฒนา
เขต 3 นายนพดล มาตรศรี พรรคชาติไทยพัฒนา
เขต 4 นางสาวพัชรี โพธสุธน พรรคชาติไทยพัฒนา
เขต 5 นายสหรัฐ กุลศรี พรรคเพื่อไทย

อ่างทอง พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ ส.ส.ยกจังหวัด
เขต 1 นายภราดร ปริศนานันทกุล พรรคชาติไทยพัฒนา
เขต 2 นายกรวีร์ ปริศนานันทกุล พรรคชาติไทยพัฒนา

อุทัยธานี
เขต 1 นายกุลเดช พัวพัฒนกุล พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายชาดา ไทยเศรษฐ์ พรรคชาติไทยพัฒนา



ภาคใต้ ได้ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์เกือบทั้งภาค ยกเว้นจังหวัดปัตตานี
กระบี่
เขต 1 นายสาคร เกี่ยวข้อง พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายสุชีน เอ่งฉ้วน พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล พรรคประชาธิปัตย์

ชุมพร
เขต 1 นายชุมพล จุลใส พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายสราวุธ อ่อนละมัย พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายธีระชาติ ปางวิรุฬรักษ์ พรรคประชาธิปัตย์

ตรัง
เขต 1 นายสุกิจ อัถโถปกรณ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายสมชาย โล่สถาพรพิพิธ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 4 นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล พรรคประชาธิปัตย์

นครศรีธรรมราช
เขต 1 นายอภิชาต ศักดิเศรษฐ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นางสาวนริศา อดิเทพวรพันธ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายวิทยา แก้วภราดัย พรรคประชาธิปัตย์
เขต 4 นายอภิชาต การิกาญจน์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 5 นายประกอบ รัตนพันธ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 6 นายเทพไท เสนพงศ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 7 นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 8 นายสุรเชษฐ์ มาศดิตถ์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 9 นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล พรรคประชาธิปัตย์





นราธิวาส
เขต 1 นายกูอาเซ็ม กูจินามิง พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายสุรเชษฐ์ แวอาแซ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายรำรี มามะ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 4 นายเจะอามิง โตะตาหยง พรรคประชาธิปัตย์

ปัตตานี
เขต 1 นายอันวาร์ สาและ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายอิสมาแอล เบญอิบรอฮีม พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายอนุมัติ ซูสารอ พรรคมาตุภูมิ
เขต 4 นายสมมุติ เบ็ญจลักษณ์ พรรคภูมิใจไทย

พังงา
เขต 1 นางกันตวรรณ ตันเถียร กุลจรรยาวิวัฒน์ พรรคประชาธิปัตย์

พัทลุง
เขต 1 นางสาวสุพัชรี ธรรมเพชร พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายนริศ ขำนุรักษ์ พรรคประชาธิปัตย์

ภูเก็ต
เขต 1 นางอัญชลี เทพบุตร พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายเรวัต อารีรอบ พรรคประชาธิปัตย์

ยะลา
เขต 1 นายประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายอับดุลการิม เด็งระกีนา พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายณรงค์ ดูดิง พรรคประชาธิปัตย์

ระนอง
เขต 1 นายวิรัช ร่มเย็น พรรคประชาธิปัตย์

สงขลา
เขต 1 นายเจือ ราชสีห์ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายภิรพล ลาภาโรจน์กิจ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นายวิรัตน์ กัลยาศิริ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 4 นายชัยวุฒิ ผ่องแผ้ว พรรคประชาธิปัตย์
เขต 5 นายประพร เอกอุรุ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 6 นายถาวร เสนเนียม พรรคประชาธิปัตย์
เขต 7 นายศิริโชค โสภา พรรคประชาธิปัตย์
เขต 8 พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่ พรรคประชาธิปัตย์

สตูล
เขต 1 นายธานินทร์ ใจสมุทร พรรคชาติไทยพัฒนา
เขต 2 นายฮอซาลี ม่าเหร็ม พรรคประชาธิปัตย์

สุราษฎร์ธานี
เขต 1 นายธานี เทือกสุบรรณ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 2 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 3 นางโสภา กาญจนะ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 4 นายเชน เทือกสุบรรณ พรรคประชาธิปัตย์
เขต 5 นายสินิตย์ เลิศไกร พรรคประชาธิปัตย์
เขต 6 นายธีรภัทร พริ้งศุลกะ พรรคประชาธิปัตย์


มรดกโลก
มรดกโลก (อังกฤษ: World Heritage Site; ฝรั่งเศส: Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต
ใน พ.ศ. 2553 มีมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 911 แห่ง แบ่งออกเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 704 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 180 แห่ง และมรดกโลกแบบผสม 27 แห่ง ตั้งอยู่ใน 151 ประเทศ[1][2] โดยอิตาลีเป็นประเทศที่มีจำนวนมรดกโลกมากที่สุด คือ 44 แห่ง แม้ว่ายูเนสโกจะอ้างอิงถึงมรดกโลกแต่ละแห่งด้วยหมายเลข แต่การขึ้นทะเบียนในหลายครั้งก็จะผนวกเอามรดกโลกที่ได้ขึ้นทะเบียนไปแล้วเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกที่มีพื้นที่มากขึ้น ดังนั้นจึงมีหมายเลขมรดกโลกเกิน 1,200 ไปแล้วแม้ว่าจะมีจำนวนมรดกโลกน้อยกว่าก็ตาม
มรดกโลกแต่ละแห่งเป็นทรัพย์สินของประเทศที่เป็นเจ้าของดินแดนที่มรดกโลกตั้งอยู่ แต่ได้ถูกพิจารณาให้เป็นผลประโยชน์ของประชาคมระหว่างประเทศในการอนุรักษ์มรดกโลกแห่งนั้น
ในปัจจุบัน มีมรดกโลกทั้งหมด 911 แห่ง ใน 151 ประเทศทั่วโลก ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 704 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 180 แห่ง และอีก 27 แห่งเป็นแบบผสมทั้งสองประเภท โดยมีการแบ่งออกเป็น 5 พื้นที่ ได้แก่ แอฟริกา อาหรับ เอเชียแปซิฟิก ยุโรป - อเมริกาเหนือ และ อเมริกาใต้ - แคริบเบียน
• หมายเหตุ มรดกโลกในประเทศตุรกีและรัสเซียนั้น นับรวมเข้ากับทวีปยุโรป

•ขั้นตอนการเสนอชื่อสถานที่
ประเทศที่ต้องการเสนอชื่อสถานที่ในประเทศของตนให้ได้รับการพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อันดับแรกจะต้องจัดทำบัญชีรายชื่อสถานที่ที่มีความสำคัญทางธรรมชาติและวัฒนธรรมทั้งหมดภายในประเทศของตน บัญชีนี้จะเรียกว่า บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะมีเพียงสถานที่ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีนี้เท่านั้นที่จะมีสิทธิได้รับการเสนอชื่อ ขั้นต่อมา ประเทศนั้นๆจะต้องเลือกรายชื่อสถานที่ที่ต้องการเสนอชื่อมาจากบัญชีรายชื่อเบื้องต้น เพื่อจัดทำเป็นแฟ้มข้อมูล (Nomination File) โดยทางศูนย์มรดกโลกอาจให้คำแนะนำและช่วยเหลือในการจัดทำแฟ้มข้อมูลนี้
เมื่อถึงขั้นตอนนี้ แฟ้มข้อมูลจะถูกตรวจสอบและพิจารณาจากองค์กร 2 แห่ง ได้แก่ สภานานาชาติว่าด้วยการดูแลอนุสรณ์สถานและแหล่งโบราณคดี (International Council on Monuments and Sites) และ สหภาพสากลเพื่อการอนุรักษ์ [3] (World Conservation Union) แล้วทั้งสององค์กรนี้จะยื่นข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการมรดกโลก ทางคณะกรรมการจะมีการประชุมร่วมกันปีละหนึ่งครั้ง เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่มีการเสนอชื่อแห่งใดบ้างที่ควรได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก หรือทางคณะกรรมการอาจร้องขอให้ประเทศที่เสนอชื่อได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่เพิ่มเติม โดยการพิจารณาว่าจะขึ้นทะเบียนสถานที่แห่งใดจะต้องมีลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ
ข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นมรดกโลก
กระทั่งปี พ.ศ. 2548 มีข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ทั้งหมด 6 ข้อสำหรับมรดกโลกทางวัฒนธรรม และ 4 ข้อสำหรับมรดกโลกทางธรรมชาติในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก[4] ดังนี้
หลักเกณฑ์ทางวัฒนธรรม
• (i) - เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์
• (ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
• (iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
• (iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
• (v) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตามกาลเวลา
• (vi) - มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์

หลักเกณฑ์ทางธรรมชาติ
• (vii) - เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการเป็นตัวแทนในวิวัฒนาการสำคัญต่างๆในอดีตของโลก เช่น ยุคสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาความหลากหลายทางธรรมชาติบนพื้นโลก
• (viii) - เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางธรณีวิทยาหรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได
• (ix) - เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา
• (x) - เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย

การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ
คณะกรรมการมรดกโลกจะมีการประชุมร่วมกันหลายครั้งในแต่ละปี เพื่ออภิปรายถึงแผนการจัดการเกี่ยวกับแหล่งมรดกโลกที่ยังคงอยู่ และรับรายชื่อสถานที่ที่ประเทศต่างๆเสนอให้ได้รับการพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก และจะมีการประชุมครั้งหนึ่งที่เรียกว่า การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ (World Heritage Committee Session) ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่ได้รับการเสนอชื่อแห่งใดที่จะได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการ
การประชุมสมัยสามัญประจำปีจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันจัดในเมืองสำคัญต่างๆจากทั่วโลก ซึ่งนอกจากครั้งที่จัดขึ้นที่กรุงปารีส อันเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ขององค์การยูเนสโกแล้ว จะมีเพียงประเทศที่สมาชิกของคณะกรรมการมรดกโลกเท่านั้นที่จะได้รับสิทธิในการจัดการประชุมครั้งต่อไป โดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ และรับรองได้ว่าสมาชิกภาพของประเทศนั้นๆจะไม่หมดวาระลงเสียก่อนที่จะได้จัดการประชุม

มรดกโลกในประเทศไทยทางวัฒนธรรม
เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร (สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร)
• นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร
• แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง
• ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่
กำลังพิจารณากลุ่มป่าแก่งกระจาน
• ราชมรรคา (พิมาย-พนมรุ้ง-เมืองต่ำ-กลุ่มปราสาทตาเมือน-ฯลฯ)
• อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท

มรดกโลก
• อุทยานประวัติศาสตร์ในไทย
• อุทยานแห่งชาติในไทย
• เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในไทย
• เขตห้ามล่าสัตว์ป่าในไทย
• พื้นที่สงวนชีวมณฑลในไทย
หมายเหตุ: ใช้ชื่อตามที่ได้จดทะเบียนเป็นมรดกโลก

มรดกโลกแห่งแรกของประเทศไทยคือแห่งใด
มรดกโลกแห่งแรกของไทย ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในปีเดียวกัน จำนวน ๓ แหล่ง คือ
๒๕๓๔ (๑๙๙๑) - วัฒนธรรม - นครประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร
๒๕๓๔ (๑๙๙๑) - วัฒนธรรม - นครประวัติศาสตร์อยุธยาและเมืองบริวาร
๒๕๓๔ (๑๙๙๑) - ธรรมชาติ - เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง

คณะกรรมการมรดกโลกปัจจุบันที่เป็นคนไทยมีชื่อว่าอะไร
ดร. โสมสุดา ลียะวณิช ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (พุทธศักราช ๒๕๕๒ – ปัจจุบัน) และผู้แทนประเทศไทยในคณะกรรมการมรดกโลก (วาระการดำรงตำแหน่ง พุทธศักราช ๒๕๕๒ – ๒๕๕๖)

หลักเกณฑ์การพิจารณาเป็นมรดกโลกมีอะไรบ้าง
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๘ มีข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ทั้งหมด ๖ ข้อสำหรับมรดกโลกทางวัฒนธรรม และ ๔ ข้อสำหรับมรดกโลกทางธรรมชาติในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก ดังนี้
หลักเกณฑ์ทางวัฒนธรรม
(i) เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์
(ii) เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
(iii) เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
(iv) เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
(v) เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตามกาลเวลา
(vi) มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์
หลักเกณฑ์ทางธรรมชาติ
(vii) เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการเป็นตัวแทนในวิวัฒนาการสำคัญต่างๆ ในอดีตของโลก เช่น ยุคสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาความหลากหลายทางธรรมชาติบนพื้นโลก
(viii) เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางธรณีวิทยาหรือวิวัฒนาการ ทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได
(ix) เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา
(x) เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย


มรดกโลกมีกี่ประเภท อะไรบ้าง
มรดกโลกแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ มรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) และ มรดกทางธรรมชาติ (Natural Heritage) ซึ่งในอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกได้ให้คำนิยามไว้ว่า
มรดกทางวัฒนธรรม หมายถึง สถานที่ซึ่งเป็นโบราณสถานไม่ว่าจะเป็นงานด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม หรือแหล่งโบราณคดีทางธรรมชาติ เช่น ถ้ำ หรือกลุ่มสถานที่ก่อสร้างยกหรือเชื่อมต่อกันอันมีความเป็นเอกลักษณ์ หรือแหล่งสถานที่สำคัญอันอาจเป็นผลงานฝีมือมนุษย์หรือเป็นผลงานร่วมกันระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ รวมทั้งพื้นที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี ซึ่งสถานที่เหล่านี้มีคุณค่าความล้ำเลิศทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ มนุษยวิทยา หรือวิทยาศาสตร์
มรดกทางธรรมชาติ หมายถึง สภาพธรรมชาติที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพอันมีคุณค่าเด่นชัดในด้านความล้ำเลิศทางวิทยาศาสตร์ หรือเป็นสถานที่ซึ่งมีสภาพทางธรณีวิทยาและภูมิประเทศที่ได้รับการวิเคราะห์แล้วว่าเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชและสัตว์ ซึ่งถูกคุกคาม หรือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของพืชหรือสัตว์ที่หายาก เป็นต้น

สัญลักษณ์มรดกโลก มีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร สื่อความหมายอะไรบ้าง
สัญลักษณ์มรดกโลก ประกอบด้วยรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเรขาคณิต เชื่อมโยงอยู่ภายใน รูปทรงกลม ล้อมรอบด้วยอักษร ๓ ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ (WORLD HERITAGE) ภาษาสเปน (PATRIMONIO MUNDIAL) และภาษาฝรั่งเศส (PATRIMOINE MONDIAL) โดยอธิบายความหมายว่า รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เปรียบเสมือนตัวแทนของสรรพสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ภายในวงกลมอันเป็นตัวแทนของธรรมชาติ สภาพแวดล้อมที่หล่อหลอมขึ้นเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ และ อักษรมรดกโลกภาษาต่าง ๆ ที่อยู่โดยรอบ แทนการปกป้องมรดกโลกทุกแห่งไว้ด้วยความร่วมมือ ร่วมใจ จากมวลมนุษย์ทุกชาติ ทุกภาษา

ภูมิทัศน์วัฒนธรรมคืออะไร
ภูมิทัศน์วัฒนธรรม (Cultural landscape) คือพื้นที่ที่ได้รับการนิยามไว้โดยกรรมาธิการมรดกโลกว่าเป็นพื้นที่เด่นทางภูมิศาสตร์ หรือทรัพย์สินที่ “...เป็นตัวแทนของธรรมชาติและผลงานของมนุษย์” ที่มีลักษณะเด่นเฉพาะ แนวคิดนี้เกิดจากการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนาขึ้นในแวดวงของมรดกโลกนานาชาติ (ยูเนสโก) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามระหว่างประเทศที่จะไกล่เกลี่ยปรองดองตามคติ “ทวินิยมแห่งธรรมชาติและวัฒนธรรม” ที่โด่งดังแพร่หลายมากในโลกตะวันตก
กรรมาธิการมรดกโลกได้บ่งชี้และรับรองประเภทของภูมิทัศน์วัฒนธรรมไว้ 3 ประเภท ได้แก่
(๑) ภูมิทัศน์ที่เกิดจากการจงใจของมนุษย์
(๒) ภูมิทัศน์ทั้งหมดที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ทั้งด้วยความจงใจทำ และไม่ได้จงใจทำ
(๓) ภูมิทัศน์ที่มีร่องรอยการปรุงแต่งโดยมนุษย์น้อยที่ (แต่มีคุณค่าสูง)

ภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่คัดจาก “แนวทางปฏิบัติของกรรมาธิการ” มีดังนี้
(๑) ภูมิทัศน์ที่ได้รับการออกแบบและสรรค์สร้างอย่างจงใจโดยมนุษย์
(๒) ภูมิทัศน์ที่มีวิวัฒนาการมาในเชิงอินทรีย์ (Organically evolved) ซึ่งอาจเป็น “ภูมิทัศน์แผ่นดินร้าง” (หรือซากดึกดำบรรพ์) หรือ “ภูมิทัศน์ต่อเนื่อง” (continuing landscape)
(๓) ภูมิทัศน์วัฒนธรรมเชิงเชื่อมโยง (Associative cultural landscape) ที่อาจมีคุณค่าทางศาสนา ศิลปะหรือที่เชื่อมโยงทางวัฒนธรรมกับองค์ประกอบทางธรรมชาติ


มรดกโลกคืออะไร
คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๕ เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต อาทิเช่น เมมฟิสและสุสานโบราณ ประเทศอียิปต์ เกรท แบริเออร์ รีฟ(แนวปะการังใหญ่) ประเทศออสเตรเลีย หมู่เกาะกาลาปาโกส ประเทศเอกวาดอร์ ทัชมาฮัล ประเทศอินเดีย แกรนด์แคนยอน ประเทศสหรัฐอเมริกา หรืออะโครโพลิส ประเทศกรีซ เหล่านี้เป็นตัวอย่างจากทั้งหมด ๘๙๐ แห่งทั่วโลก ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม และมรดกโลกทางธรรมชาติ

อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก คืออะไร
อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก (Convention Concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage) ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๕ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือในหมู่ประเทศภาคี ในการกำหนดมาตรการที่เหมาะสม ทั้งด้านนโยบายการบริหารเทคนิคและการเงิน เพื่อสงวนรักษา คุ้มครองและส่งเสริม มรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ ที่มีความสำคัญต่อมวลมนุษยชาติให้คงอยู่ต่อไป

การขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกมีขั้นตอนและวิธีการพิจารณาอย่างไรบ้าง
ประเทศที่ต้องการเสนอชื่อสถานที่ในประเทศของตนให้ได้รับการพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อันดับแรกจะต้องจัดทำบัญชีรายชื่อสถานที่ที่มีความสำคัญทางธรรมชาติและวัฒนธรรมทั้งหมดภายในประเทศของตน บัญชีนี้จะเรียกว่า บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะมีเพียงสถานที่ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีนี้เท่านั้นที่จะมีสิทธิ์ได้รับการเสนอชื่อ ขั้นต่อมา ประเทศนั้นๆจะต้องเลือกรายชื่อสถานที่ที่ต้องการเสนอชื่อมาจากบัญชีรายชื่อเบื้องต้น เพื่อจัดทำเป็นแฟ้มข้อมูล (Nomination File) โดยทางศูนย์มรดกโลกอาจให้คำแนะนำและช่วยเหลือในการจัดทำแฟ้มข้อมูลนี้
เมื่อถึงขั้นตอนนี้ แฟ้มข้อมูลจะถูกตรวจสอบ และพิจารณาจากองค์กรที่ปรึกษา ได้แก่ “สภาระหว่างประเทศว่าด้วยโบราณสถานและแหล่งโบราณคดี” (The International Council on Monuments and Sites หรือ ICOMOS) และ "ศูนย์ระหว่างชาติว่าด้วยการศึกษา การอนุรักษ์ และปฏิสังขรณ์สมบัติทางวัฒนธรรม" (The International Centre for the Study of the Preservation and Restoration of the Cultural Property หรือ ICCROM) ในส่วนของมรดกทางวัฒนธรรมและ "สหภาพการอนุรักษ์โลก" (The World Conservation Union หรือ IUCN) ในส่วนของมรดกทางธรรมชาติ แล้วทั้งสามองค์กรนี้จะยื่นข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการมรดกโลก ทางคณะกรรมการจะมีการประชุมร่วมกันปีละหนึ่งครั้ง เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่มีการเสนอชื่อแห่งใดบ้างที่ควรได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก หรือทางคณะกรรมการอาจร้องขอให้ประเทศที่เสนอชื่อได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่เพิ่มเติม โดยการพิจารณาว่าจะขึ้นทะเบียนสถานที่แห่งใดจะต้องมีลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ

ใครเป็นผู้เสนอรายชื่อแหล่งเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
การนำเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ เพื่อให้บรรจุไว้ใน "บัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลก" (World Heritage List) จะกระทำได้โดยรัฐบาลแห่งประเทศภาคีสมาชิก ผู้มีอำนาจอธิปไตยเหนือแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาตินั้นๆ เท่านั้น

กองทุนมรดกโลกคืออะไร และมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร
อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ได้จัดตั้ง "กองทุนมรดกโลก" ขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๙ เพื่อเป็นเงินทุนในการดำเนินการต่างๆ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ของอนุสัญญาฯ รายได้กองทุนมรดกโลกมีที่มาจากค่าบำรุงประจำปีของสมาชิกรัฐภาคี เงินบริจาคจากประเทศต่างๆ รวมทั้งองค์กรและบุคคลโดยทั่วไป
การใช้จ่ายเงินกองทุนมรดกโลก มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการปกป้องคุ้มครองและการอนุรักษ์มรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ รวมทั้งเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งมรดกโลกในภาวะอันตรายในกรณีเร่งด่วน
รัฐภาคีมีสิทธิ์นำเสนอโครงการเพื่อขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนมรดกโลกนี้ภายใต้ขอบเขตด้านการศึกษาวิจัย ด้านเทคนิค และผู้เชี่ยวชาญ ด้านการฝึกอบรม และเครื่องมืออุปกรณ์ ขณะเดียวกันในกรณีพิเศษรัฐภาคีอาจขอกู้ยืมเงินจากกองทุนฯ ได้ในระยะยาวและปลอดดอกเบี้ย

การคัดชื่อแหล่งมรดกโลกออกจากบัญชี มีขั้นตอนและวิธีการพิจารณาอย่างไรบ้าง
- คณะกรรมการฯ จะพิจารณาคัดชื่อแหล่งมรดกโลกออกจากบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลกได้ตามระเบียบที่วางไว้ในกรณีที่
๑. แหล่งมรดกนั้นได้รับความเสียหายจนสูญเสียลักษณะที่ชัดเจนของตัวเอง
๒. แหล่งมรดกนั้นได้รับการบุกรุกทำลายโดยมนุษย์ระหว่างการพิจารณา หรือไม่ได้รับการจัดการตามมาตรการหรือโครงร่างแผนงานต่างๆ ตามเวลาที่ภาคีประเทศนั้นๆ เสนอต่อคณะกรรมการ
- ดังนั้นหากมีความเสียหายใดๆ เกิดขึ้นแก่แหล่งมรดกต่างๆ ทั้งที่ได้รับการพิจารณาหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาให้เข้าในบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลก ประเทศภาคีที่เป็นเจ้าของจะต้องแจ้งให้ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการฯ ทราบโดยทันที
- เมื่อเลขานุการฯ ได้รับแจ้งถึงความเสียหายที่มีต่อแหล่งมรดกนั้นๆ (ไม่ว่าจะโดยทราบจากประเทศภาคี หรือจากแหล่งข้อมูลใดก็ตาม) ก็จะตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ กับประเทศภาคี และจะแจ้งให้คณะทำงานตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม (ยกเว้นแต่มีความเห็นจากประธาน ฯ ว่า ไม่ควรดำเนินการพิจารณาต่อไป รวมทั้งขอความเห็นจากองค์การที่ปรึกษาต่างๆ คือ ICOMOS และ IUCN และ ICCROM (The International Center for the Study of the Preservation and Restoration of Cultural Property in Rome) เพื่อมอบให้คณะทำงานนำไปประกอบการพิจารณาต่อไป
- ในที่สุดคณะกรรมการฯ จะตรวจสอบข้อมูลและความเห็นของคณะทำงาน และจะพิจารณาออกเสียงโดยถือตามเสียง ๒ ใน ๓ ของที่ประชุม ทั้งนี้ การพิจารณาคัดชื่อออกดังกล่าว จะต้องเปิดโอกาสให้ประเทศภาคีนั้นๆ ได้ให้เหตุผลและตอบคำถามต่างๆ ร่วมด้วย และต้องผ่านการตรวจสอบการมีลักษณะทางธรรมชาตินั้นๆ อย่างแท้จริง ซึ่งได้แก่
๑. พื้นที่ในข้อ (๑) ข้างต้น จะต้องมีลักษณะที่แท้จริงของความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบภายในยุคนั้นๆ
๒. พื้นที่ในข้อ (๒) ข้างต้น จะต้องมีขนาดและองค์ประกอบสำคัญๆ ที่แสดงถึงกระบวนการตลอดจนลักษณะเฉพาะพื้นที่นั้น ๆ อย่างชัดเจน เช่น ความสูงจากระดับน้ำทะเล หรือลักษณะดิน เป็นต้น
๓. พื้นที่ในข้อ (๓) ข้างต้น จะต้องมีองค์ประกอบด้านระบบนิเวศน์ของตนเอง เพื่อการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดในพื้นที่นั้นๆ เช่น การมีทิศทางการไหลผ่านที่แน่นอนของแนวปะการังที่สวยงาม เป็นต้น
๔. พื้นที่ในข้อ (๔) ข้างต้น ควรมีขนาดและองค์ประกอบในการดำรงชีวิตของพืชและสัตว์ที่หายากนั้นๆ อย่างเพียงพอ
๕. ในกรณีของสัตว์ที่มีการอพยพย้ายถิ่น ควรมีการคุ้มครองพื้นที่ที่สัตว์จะย้ายไปอยู่เช่นกัน ทั้งนี้ควรมีข้อตกลงของประเทศที่เกี่ยวข้องเสียก่อน
๖. พื้นที่ในข้อ (๑) ถึง (๔) จะต้องได้รับการคุ้มครองจากกฎหมาย เช่น ในรูปของอุทยานแห่งชาติ หากไม่มีก็ควรมีแผนการจัดการที่จะนำไปปฏิบัติต่อไปได้

ไทยประกาศลาออกจากภาคีสมาชิกมรดกโลก

เมื่อเวลาประมาณ 23.45 น. วันที่ 25 มิถุนายน นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก แถลงที่กรุงปารีส ว่า ไทยได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลกและกรรมการมรดกโลก หลังจากศูนย์มรดกโลกและยูเนสโกไม่ได้ฟังข้อทักท้วงของไทย ทั้งนี้ในร่างมติที่มีการเสนอให้มีการพิจารณา มีเรื่องการเลื่อนแผนบริหารจัดการของเขมรออกไป ซึ่งเป็นไปในแนวทางที่รัฐบาลต้องการ แต่ในร่างมติของยูเนสโกที่เสนอเข้ามา ยอมให้มีการเลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการของเขมรออกไปจริง แต่มีข้อความและข้อกำหนดที่อาจทำให้ไทยเสียเปรียบ
ทั้งนี้มีการเจรจาล็อบบี้กับสมาชิกมาตลอดตั้งแต่เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน มีการหารือกันมาตลอด แต่ก็เห็นได้ชัดว่ายูเนสโกพยายามผลักดันแผนตัวเอง ประเด็นสำคัญที่ฝ่ายไทยรับไม่ได้คือ แผนบูรณะตัวปราสาทพระวิหาร ซึ่งในแผนที่ยูเนสโกเสนอได้ระบุเรื่องการเข้ามาในพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ในอธิปไตยของไทย อยู่นอกเหนือจากตัวปราสาทพระวิหาร ขณะเดียวกันพื้นที่รอบตัวปราสาทกัมพูชาก็ได้ยึดครองบางส่วน เป็นพื้นที่ที่ยังไม่มีข้อยุติชัดเจนว่าแนวเขตแดนอยู่ตรงไหน
ก่อนหน้านี้ฝ่ายไทยยังได้นำโมเดลของทางทหารไปชี้แจง เพื่อให้เห็นสภาพที่เกิดขึ้นว่า ถ้าหากมีการขึ้นทะเบียนและรับรองแผนบริหารจัดการของกัมพูชาจะนำไปสู่ความขัดแย้งมากยิ่งขึ้น
นายสุวิทย์ยังย้ำว่า หากไทยลาออกจากคณะกรรมการมรดกโลกแล้ว ผลใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นจากการกระทำของสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกก็จะไม่มีผลผูกพันต่อประเทศไทย หมายความว่า ทางคณะกรรมการมรดกโลกจะให้กัมพูชาเข้าดำเนินกิจกรรมใดๆ ที่เป็นการรุกล้ำเข้ามาในดินแดนของไทยไม่ได้เป็นอันขาด หากว่ามีการประกาศขึ้นทะเบียนพระวิหารเป็นมรดกโลก และยอมรับแผนการจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารของกัมพูชา บางส่วนที่รุกล้ำเข้ามาในฝ่ายไทยนั้น ต้องมีการขออนุญาตรัฐบาลไทยก่อน จะกระทำการใดๆ ไม่ได้ เนื่องจากไทยไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจของคณะกรรมการมรดกโลก และไม่มีผลผูกพันใดๆ
นายสุวิทย์ กล่าวอีกว่า การตัดสินใจลาออกในครั้งนี้ ได้ไตร่ตรองและผ่านการศึกษาอย่างรอบคอบ รวมถึงได้โทรศัพท์พูดคุยกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี รับทราบการตัดสินใจและเห็นว่ารัฐบาลไทยไม่มีทางเลือกในการลาออกจากกรรมการมรดกโลกครั้งนี้ ซึ่งจะเดินทางกลับถึงประเทศไทยในช่วงเช้าวันที่ 27 มิถุนายนนี้